เด็กฝาแฝดจากประเทศบราซิล ที่มีหัวติดกันได้รับการผ่าตัดแยกหัวออกจากกัน จากการใช้และช่วยเหลือจาก VR (virtual reality)
เด็กน้อยสองคนนี้อายุเพียง 3 ขวบ ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลกรุงลอนดอน ทางทีมหมอและพยาบาลได้ทำการเตรียมและวางแผนการช่วยเหลือผ่าตัดเด็กแฝดคู่นี้เป็นเวลาหลายเดือน โดยการใช้เทคนิค VR (virtual reality) เข้าช่วยในการวางแผน
การผ่าตัดครั้งนี้เขาได้ตั้งชื่อว่า “space-age stuff” การผ่าตัดครั้งนี้เป็นการผ่าตัดแยกเด็กแฝดที่มีความซับซ้อนและยากมากๆ
ทีมแพทย์ได้เปิดเผยว่าทางทีมได้ทำการฝึกซ้อมก่อนการผ่าตัดจริงด้วยการใส่หน้ากากหูฟังและใช้ระบบ VR (virtual reality) ในการฝึกซ้อมการผ่าตัดด้วยกัน เด็กแฝดคู่นี้ได้ทำการรับการผ่าตัด 7 ครั้ง และเวลาที่ได้รับเข้าทำการผ่าตัดครั้งสุดท้ายใช้เวลาร่วมถึง 27 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีทีมแพทย์และพยาบาลที่ร่วมทำการผ่าตัดครั้งเกือบ 100 คน
ทีมแพทย์ผู้ได้เข้ารับการผ่าตัดเด็กแฝด เปิดเผยว่า การใช้เทคโนโลยี VR (virtual reality) เข้ามาช่วยในการฝึกซ้อมมันดีมากๆเพราะเป็นการดูร่างกายของเด็กและฝึกซ้อมก่อนการผ่าตัดจริงที่อาจจะทำให้เด็กแฝดได้รับอันตราย แพทย์ยังบอกอีกว่าช่วงเวลาการผ่าตัดเป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุดเพราะการผ่าตัดมันมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้อวัยวะบางส่วนได้รับความเสียหายจากการผ่าตัด
ทีมแพทย์ได้เข้ารับการผ่าตัดครั้งสุดท้ายใช้เวลาถึง 27 ชั่วโมง แต่ทีมแพทย์มีเวลาพักเพียงแค่ 15 นาที สำหรับทานอาหารและดื่มน้ำ ทีมแพทย์รู้สึกมีความยินดีมากหลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว ครอบครัวทางเด็กแฝดก็รู้สึกปลาบปลื้มและซาบซึ้งทีมแพทย์ด้วยเช่นกัน
หลังจากการผ่าตัดเด็กแฝดออกจากกัน อาการในตอนแรกคือหัวใจเด็กแรงมากๆในเด็กทั้งสองคน แต่ 4 วันต่อมาอาการก็ดีขึ้นและกลับมาทรงตัวในระยะที่ปลอดภัย เด็กๆมีการฟื้นตัวที่รวดเร็วและจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลอีก 6 เดือน และได้รับการเยียวยาหลังจากนั้นต่อไป
ทางทีมแพทย์เปิดเผยว่าทางครอบครัวของเด็กแฝดหัวติดกัน ได้ทำการขอการช่วยเหลือจากหลายๆที่เพื่อให้เด็กๆได้รับทำการผ่าตัดแยกส่วนออกจากกัน ทางทีมแพทย์ได้รวบรวมผู้มีประสบการณ์ในการผ่าตัดเชี่ยวชาญด้านนี้มาจากหลายประเทศ และทีมแพทย์ทุกคนก็ร่วมยินดีที่จะช่วยเหลือเด็กแฝดจากบราซิล
การผ่าตัดเด็กแฝดหัวติดกันเป็นการผ่าตัดที่เด็กมีอายุเยอะที่สุด และต้องผ่าตัดแยกสมองที่ใช้ส่วนรวมกัน นับว่าเป็นเคสที่ยากที่สุดที่เคยมีการผ่าตัดแยกเด็กแฝดมา
จากการรายงานพบว่า เด็กแฝดมีโอกาสเกิดเป็นแฝดติดกันคิดเป็น 1 ส่วนของการเกิด 60,000 คน และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นเท่านั้น ที่จากมีการใช้อวัยวะร่วมกันในร่างกาย
https://www.bbc.com/news/technology-62378452